กลายเป็นประเด็นที่กำลังร้อนแรงในตอนนี้ กรณี จอนนี่ มือปราบ หรืออดีตดาบตำรวจชื่อดังซึ่งปัจจุบันเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ถูกแจ้งความดำเนินคดีจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ฐานบุกรุกพื้นที่นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย จ.อุบลราชธานี
หลังมีการสร้างรีสอร์ตบนพื้นที่ที่รัฐถือกรรมสิทธิ์ โดยเจ้าตัวยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามขั้นตอน และมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานานก่อนที่รัฐจะออกระเบียบควบคุม
ล่าสุด ทางด้านของ ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ได้ออกมาอธิบายเปิดมุมมองในแง่มุมกฎหมายอีกครั้งว่า “เมื่อคืนนั่งดูกฎหมายป่าไม้, ควบคุมอาคาร, การบุกรุกที่สาธารณะและสุดท้ายคือสมคบกันฟอกเงินเข้าใจแล้วว่าตำรวจตัดตำรวจด้วยกันเดี๋ยวดูถ้าจอห์นนี่ยังไม่เงียบฟอกเงินตามมาแน่ๆ เพราะกฎหมายมันเอื้อ 
แต่คำถามที่สังคมสงสัยคือเลือกปฏิบัติ หรือไม่  🧑⚖️ ทนายรณณรงค์ชี้! คดีจอนนี่ รีสอร์ตกลางนิคมลำโดมน้อย เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ชัดเจน แม้ไม่ใช่ป่าสงวน กฎหมายป่าไม้ ไม่ได้คุ้มครองเฉพาะ “ป่าสงวน” หรือ “อุทยาน” เท่านั้นนะครับ มันคุ้มครอง ที่ดินของรัฐทุกประเภท ที่ยังไม่มีใครได้กรรมสิทธิ์ด้วยซ้ำ
✅ มาตรา 54 พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ชัดเจนเลยว่า ห้ามใครก็ตามไปแผ้วถาง เผา ยึดถือ หรือทำลาย “ป่า” โดยไม่ขออนุญาตจากรัฐ
📌 โทษหนักมาก
• จำคุกไม่เกิน 5 ปี
• หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
• หรือทั้งจำทั้งปรับ
และอย่าคิดว่าแค่สร้างบ้าน รีสอร์ตจะรอดพ้นนะครับ เพราะเขียนไว้เลยว่า “กระทำการอื่นใดอันเป็นการทำลายป่า” ก็โดนได้เหมือนกัน
📌 “ป่า” ตามกฎหมายคืออะไร?
นิยาม “ป่า” ในมาตรา 4 (1) ระบุว่า: ที่ดินที่ยังไม่มีใครได้มาตามกฎหมายที่ดิน เช่น โฉนด, น.ส.3, หรือใบอนุญาตครอบครอง แปลว่า ถ้าใครเข้าไปใช้ที่ดินของรัฐที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ ไม่ว่าจะอยู่
ในภูเขา ทุ่งนา หรือใน “นิคม” ก็ตาม แล้วไปปลูกสร้างอะไรโดยพลการ = ถือว่าบุกรุกป่าโดยตรง
🔥 แล้วกรณีจอนนี่ มือปราบ เข้าเงื่อนไขนี้ไหม?
1. ที่ดินนิคมลำโดมน้อย มีพื้นที่ 20% กันไว้เป็น “ป่าไม้ส่วนกลางของชุมชน”
2. พื้นที่นั้น ไม่มีเอกสารสิทธิ ไม่ใช่โฉนด ไม่ใช่ ส.ป.ก. ไม่ใช่ น.ส.3
3. จอนนี่เข้าไปสร้าง “รีสอร์ต” ตั้งแต่ปี 64 โดยไม่มีหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้มีอำนาจ
4. มีการแผ้วถางพื้นที่ ล้อมรั้ว ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างถาวร
✅ เข้าข่าย “กระทำการทำลายป่า” อย่างชัดเจน
✅ และพื้นที่นี้ถือเป็น ป่า ตามนิยามมาตรา 4
⚖️ สุดท้ายแล้ว…ไม่ต้องรอให้ใครประกาศว่าเป็น “ป่าสงวน” ก็ผิดได้ครับ ถ้าคุณเข้าไปบุกรุกที่ของรัฐโดยไม่มีสิทธิ กฎหมายป่าไม้ก็ใช้ลงโทษได้เลยเต็ม ๆ และที่สำคัญที่สุด… กฎหมายนี้แรงกว่ากฎหมายจัดที่ดินของนิคมอีกด้วยนะครับ
📍 สรุปง่าย ๆ แบบชาวบ้าน: ถ้าไม่มีสิทธิ ก็ไม่มีสิทธิ! อยู่ดี ๆ ไปปลูกรีสอร์ตบนป่าชุมชนในนิคม โดยไม่ขอใคร → ผิดทั้งทางนิคม และผิดทางป่าไม้ด้วย
📚 อ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:
• พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 54, 73
• พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 15, 41″
ขอบคุณข้อมูล: รณณรงค์ แก้วเพ็ชร์