Please Enable JavaScript in your Browser to visit this site

ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว เผย 3 สถานการณ์ ที่เคยประเมินไว้

การเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา ที่ส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ในวันที่ 31 มี.ค. 2568 ศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้ข้อมูลบนเวทีเสวนา ก้าวข้ามธรณีพิโรธ : นวัตกรรม ววน. พลเกมภัยแผ่นดินไหว เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยของไทย

ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว.ศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวว่า ความจริงแล้ว

ทีมวิจัยมีการประเมินไว้แล้วเมื่อ 20 ปีก่อน ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเมียนมานั้น และจะมีการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมาก

และเมื่อแผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว ความรุนแรงจะลดทอนลงไปเรื่อยๆ แต่กรุงเทพมหานคร เป็นแอ่งดินอ่อน หากดูในเชิงวิศวกรรมแผ่นดินไหว

จะพบว่ากรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นแอ่งดินอ่อนยักษ์ จะเพิ่มแรงสะเทือนของแผ่นดินไหว 3-4 เท่า ลักษณะการโยกจะโยกอย่างช้าๆ จากซ้ายไปขวา

ขวาไปซ้าย ต่างจากลักษณะพื้นที่สั่นไหวที่ไม่ใช่ดินอ่อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ตึกสูงรับรู้ความสั่นไหวได้รุนแรงมาก ข้อมูลจากทีมวิจัย ที่ได้ทำงานต่อเนื่องมายาวนานกว่า 20 ปี

ได้ประเมินสถานการณ์แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในไทย ไว้ 3 สถานการณ์ ที่อาจจะเกิดผลกระทบขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

คือ 1.แผ่นดินไหวขนาด 7-7.5 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี แนวรอยเลื่อนมาทางกรุงเทพมหานคร / 2.แผ่นดินไหวขนาด 8 ที่แนวรอยเลื่อนสกายในเมียนมา / 3.แผ่นดินไหวขนาด 8.5-9 ที่แนวแผ่นเปลือกโลกมุดตัวในทะเลอันดามัน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด คือเหตุการณ์ที่ 2 ที่ทีมวิจัยเคยประเมินสถานการณ์ไว้ ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย

แต่บอกไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นในวงรอบกี่ปี อาจจะกินเวลาวงรอบ 300-400 ปี หรือในช่วงชีวิตคนคนหนึ่ง อาจจะไม่ได้เจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเลย

แต่ล่าสุดในช่วงชีวิตเรา มาเจอแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสกาย เมื่อ 28 มีนาคมที่ผ่านมา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 28 มีนาคม 2568 นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ อาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นจากนี้ จะเบาลงเรื่อยๆ

แต่ไม่ได้ไปหมายความว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวในสถานการณ์ที่ประเมินไว้อื่นๆ จะไม่เกิดขึ้นอีก

ดังนั้นอาคารที่จะสร้างในอนาคต ต้องวางแผนในการสร้างอาคารที่รองรับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

ขณะนี้สถานการณ์ที่ทีมวิจัยประเมินไว้ ยังต้องจับตาสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ *คือเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่กาญจนบุรีขนาด 7-7.5

และพบว่าหากเกิดแผ่นดินไหวที่กาญจนบุรี แนวรอยเลื่อนดังกล่าว เส้นทางการเคลื่อนไหวจะมาทางกรุงเทพมหานครโดยตรง*

ขอบคุณข้อมูล: Earthquake Research Center of Thailand-ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ

 

You cannot copy content of this page