Please Enable JavaScript in your Browser to visit this site

อ.เจษฎา แนะวิธีสังเกต จะได้ไม่เกิดอาการหลอนแผ่นดินไหว

เรียกได้ว่าเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ประชาชนอพยพออกจากตึกสูงในหลายพื้นที่ของ กทม. หลังมีการสั่นไหว โดยทางด้านของ อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ถ้าคิดว่าตึกสั่นไหว ให้ดูน้ำในแก้ว ดูโคมไฟเพดาน ฯลฯ ว่าไหวจริงมั้ย ไม่งั้นอาจอุปทาน หลอนแผ่นดินไหวกันไปเอง”

ก่อนจะโพสต์อธิบายเพิ่มเติมว่า “ลองตรวจสอบแผ่นดินไหว ประมาณช่วง 11 โมง ที่มีบางคนรู้สึกว่าตึกสั่นไหว จนนำมาสู่การอพยพหนีลงจากตึก กันเป็นจำนวนมาก หลายตึกทั่วกรุงเทพฯ

เมื่อตรวจกับเว็บของ USGS ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะรายงานแผ่นดินไหวขนาด 2.5 ขึ้นไปจากทั่วโลก ไม่พบว่าตอนช่วง 11-12 โมง มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในแถบเอเชียเราเลย

แม้แต่ในต่างประเทศ เช่น ที่เปอร์โตริโก และเมื่อตรวจสอบกับเว็บ กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ของกรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทย เพื่อเช็ค after shock พบว่ามีเกิดอาฟเตอร์ช็อคขึ้นตอนช่วง 11 โมง หนึ่งครั้ง

โดยมีขนาด 3.1 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร ซึ่งผมคิดว่า aftershock ลูกนี้ถือว่าเบามาก ส่งผลกระทบน้อยมากต่อกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างมากกว่า 1 พันกิโลเมตร ..

และจะสังเกตเห็นว่า ตั้งแต่หลังการเกิดแผ่นดินไหวลูกใหญ่ เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็มี aftershock แรงๆ เกิดขึ้นมาตามมา กว่า 100 ลูก โดยไม่พบรายงานว่ามีจุดใดในกรุงเทพฯ รับรู้สึกถึงความสั่นไหวของตึกได้เหมือนเมื่อเช้านี้

ที่น่าคิดคือ หรือว่านี่จะเป็นผลจาก “โซเชียลมีเดีย” ที่หลังจากมีข่าวตอน 10 โมงว่าคนอพยพออกจากศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เพราะมีตึกสั่นร้าว (ซึ่งสุดท้ายพบว่าไม่จริง) แล้วพอข่าวกระจายออกไป คนที่อยู่ตึกอื่นๆ ก็กลัวตามกันไปด้วย เลยอพยพกันใหญ่

ป.ล. ทีมงานจัดเสวนาวิชาการที่จุฬาฯ แจ้งผมว่า อยู่บนตึกชั้น 8 ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามีการสั่นไหวอะไร ตอน 11 โมงครับ ป.ล. 2 บางท่านบอกว่า เป็นผลจากการที่คนเข้าไปในตึกเยอะๆ หลังจากวันเสาร์อาทิตย์ แล้วทำให้ตึกสั่นหรือเปล่า ? ผมก็ว่าไม่น่านะ เพราะถ้าเป็นแบบนั้น มันควรมีอาการตั้งแต่เช้าแล้ว ไม่ใช่มาเป็นตอน 11 โมงพร้อม ๆ กัน ..”

ขอบคุณข้อมูล: Jessada Denduangboripant

You cannot copy content of this page