Please Enable JavaScript in your Browser to visit this site

อ.เจษฎ์ ดร.เจษฎา เปิดข้อมูล โนโรไวรัส เผยวิธีป้องกันที่ถูกต้องที่สุด

กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในตอนนี้ สำหรับ โนโรไวรัส ที่ทำเอาหลายๆ คนมีความกังวลใจ โดย อ.เจษฎ์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

“เรื่อง “โนโรไวรัส ระบาดในไทยเนี่ย” มันเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ต้องพาดหัวว่า “ถึงไทยแล้ว” ให้แตกตื่นกันหรอกนะครับ ! โรคนี้มันระบาดในไทยทุกปีอยู่แล้ว มีข่าวเด็กๆ ท้องร่วงเพราะโนโรไวรัสทุกปี … ไม่ใช่โรคใหม่ จากต่างประเทศ แต่อย่างไรครับ ! อ่านรายละเอียดข่าวด้านล่างครับ

(ข่าว) 16 ธ.ค.67) มีการเปิดเผยว่าประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อ “โนโรไวรัส” จำนวน 1,436 คน โดยเป็นกลุ่มโรงเรียนในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งคาดว่าติดมาจากสารปนเปื้อนที่มาจากน้ำแข็ง

โดย นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรณีการระบาดของโรคอุจจาระร่วงของนักเรียน และครูบุคลากร 2 โรงเรียน ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง พบผู้ป่วยรวม 1,436 ราย เป็นนักเรียน 1,418 ราย ครูและบุคลากร 18 ราย

ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อโนโรไวรัสที่ปนเปื้อนมากับ “น้ำและน้ำแข็ง” ในช่วงสัปดาห์ที่โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมกีฬาสี โดยโนโรไวรัส (Norovirus) มักจะแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กที่มีภูมิต้านทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เด็กติดเชื้อได้ง่าย

โนโรไวรัสเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน สามารถติดต่อได้ง่าย ทั้งการสัมผัสทางอากาศ อาหาร น้ำดื่ม การสัมผัส และการหายใจ เช่น การสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อโนโรไวรัสโดยตรง

โดย “โนโรไวรัส” มีระยะฟักตัว 12-48 ชั่วโมงหลังการรับเชื้อ ซึ่งอาการที่ผู้ป่วยพบส่วนใหญ่ มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง ปวดท้อง ท้องเสีย มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามร่างกาย บางรายอาจทำให้มีอาการขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนการเสียน้ำและเกลือแร่

#มาตรการในการป้องกันตนเองจากโนโรไวรัส

– ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ก่อนและหลังทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

– รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง

– ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด

– หลีกเลี่ยงดื่มน้ำที่ไม่สะอาด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำที่ไม่สะอาด”

ขอบคุณข้อมูล: Jessada Denduangboripant

You cannot copy content of this page