Please Enable JavaScript in your Browser to visit this site

รอลุ้น ! คลังเตรียมเคาะแจกเงินหมื่น เป็นของขวัญปีใหม่

เรียกว่ามีกระแสข่าวว่ารัฐบาลเตรียมแจกเงิน 10,000 บาท นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 จะมีประชุมคณะกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจ นัดแรก โดยมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กระทรวงการคลังเตรียมเสนอแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจรายปี

เริ่มตั้งแต่ของขวัญปีใหม่ช่วงสิ้นปีนี้ต่อเนื่องถึงตลอดทั้งปีหน้า 2568 จะมีการกำหนดเป็นกรอบไทม์ไลน์ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อาจแบ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบรายธุรกิจ

รวมถึงการเสนอให้เดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ระยะถัดไป มาตรการแก้หนี้ภาคประชาชน ตลอดจนมาตรการของขวัญปีใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้

การหารือคงไม่ใช่แค่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังเพียงกระทรวงเดียว แต่เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงต่างๆ ด้วย

เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เป็นต้น เพื่อให้มองเห็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีหน้าว่าจะเดินไปทางไหน

นายจุลพันธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเงินที่จะใช้ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นแบบผสมผสาน ไม่ได้มาจากแหล่งเงินในงบประมาณแหล่งเดียว

ส่วนหนึ่งมาจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในปีงบ 2568 ที่กำหนดวงเงินไว้ 1.8 แสนล้านบาท และบางโครงการไม่จำเป็นต้องใช้งบ

รวมถึงบางส่วนเป็นโครงการของสถาบันการเงินของรัฐที่อยู่ในบัญชีกิจการของรัฐ (พีเอสเอ) ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น โดยไตรมาส 4 ปี 2567

จะขยายตัวดีกว่าเดิม แต่รัฐบาลจะไม่หยุดแค่นี้ เพราะยังมีอีกหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีปัญหา เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ (โดยเฉพาะรถกระบะ)

ภาคอสังหาริมทรัพย์ (ที่ยังชะลอตัว) แม้ว่ามาตรการแจกเงิน 1 หมื่นบาท สำหรับคนถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และบัตรคนพิการ 14.5 ล้านคน จะใช้จ่ายไปแล้วจำนวนมากก็ตาม

ทั้งนี้ ในการประชุมจะพิจารณามาตรการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยของสถาบันการเงิน ด้วยการพักดอกเบี้ย และลดค่างวด โดยที่กระทรวงการคลัง

จะยอมให้สถาบันการเงินลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเอฟไอดีเอฟ และอีกส่วนหนึ่งมาจากทรัพยากรของสถาบันการเงิน ซึ่งรัฐบาลต้องการให้ลูกหนี้ที่เข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว กู้ยืมเงินใหม่ได้

สำหรับแหล่งเงินทุนในมาตรการจะมาจาก 2 ส่วนคือ การลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ทั้งระบบเหลือ 0.23%

จากเดิม 0.46% ต่อปี และเงินสนับสนุนจากภาคธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับลูกหนี้ของแต่ละธนาคาร โดยเม็ดเงินความช่วยเหลือภาพรวมอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี

ทั้งนี้ ด้านสมาคมธนาคารไทย ออกสเตตเมนต์ยืนยันว่า อยู่ระหว่างเตรียมมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดภาระทางการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกหนี้ กลุ่มที่เป็น ‘ลูกค้ารายย่อย’ และ ‘ธุรกิจขนาดเล็ก’

ซึ่งจะใช้แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ ที่จะช่วยลดภาระการผ่อนชำระต่องวดอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่เข้าร่วมมาตรการ โดยผ่อนชำระเฉพาะเงินต้นเท่านั้น

และพักชำระดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์ และระยะเวลาที่กำหนด จะได้รับยกเว้นสำหรับดอกเบี้ยที่พักแขวนไว้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้รักษาวินัยในการผ่อนชำระ

ขอบคุณข้อมูล: เรื่องเล่าเช้านี้

You cannot copy content of this page