เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2564 ที่รัฐสภา ตัวแทนกลุ่ม Re-Solution ที่ประกอบด้วยปิยบุตร แสงกนกกุล, พริษฐ์ วัชรสินธุ, ยิ่งชีพ อัชฌานนท์, สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และชญาธนุส ศรทัตต์ นำ 150,921 รายชื่อ ที่ร่วมกันลงชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มายื่นต่อประธานรัฐสภา
สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่ม Re-Solution มีสาระสำคัญหลายเรื่อง ที่ตัวแทนกลุ่มระบุว่าเป็นการ ‘รื้อระบอบประยุทธ์’ อาทิ ยกเลิก ส.ว.ซึ่ง คสช.แต่งตั้งเข้ามาทั้ง 250 คน
ให้เหลือเพียงสภาเดี่ยว คือ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง 500 คน, เปลี่ยนที่มาของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระให้ยึดโยงกับประชาชน, ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้านที่เครือข่าย คสช.เขียนขึ้น,
ยกเลิกผลพวงจากการรัฐประหารโดย คสช.ทั้งหมด เป็นต้น พริษฐ์ ตัวแทนกลุ่ม Re-Solution กล่าวว่า ไม่มีห้วงเวลาไหนที่เหมาะสมเท่านี้แล้วต่อการยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพราะไม่ว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะบริหารงานเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤต COVID-19 อย่างไร้ประสิทธิภาพแค่ไหน มีประชาชนเสียชีวิตกี่คน มีคนตกงานกี่คน มีร้านค้าหายไปกี่ร้าน
แต่ตราบใดที่เรายังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่เขียนมาเพื่อสืบทอด ‘ระบอบประยุทธ์’ และเปิดทางให้ระบอบนี้ควบคุมกลไกรัฐทุกอย่างอย่างเบ็ดเสร็จ ถึงแม้ประชาชนจะไม่พอใจเท่าไร
แต่อำนาจในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลถูกพรากจากมือประชาชนดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างระบอบการเมืองที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน จึงมีความเป็นอย่างยิ่ง” พริษฐ์กล่าว
ยิ่งชีพ ผู้จัดการ iLaw ซึ่งเคยรวบรวมรายชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว ช่วงกลางปี 2563 แต่ถูก ส.ส.บางกลุ่มและ ส.ว.แต่งตั้งร่วมกับคว่ำตั้งแต่วาระแรก ระบุว่า รอบนี้เราไม่ได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
แต่แก้ไขในประเด็นสำคัญๆ เพื่อรื้อถอนอำนาจของระบอบ คสช.หลายเรื่อง จึงไม่เห็นเหตุผลอะไรที่รัฐสภาจะไม่รับไว้พิจารณาอีกตัวแทนประธานรัฐสภา ระบุว่า ขั้นตอนหลังจากนี้
1. จะนำรายชื่อทั้งหมดไปตรวจสอบว่าเป็นผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายถูกต้องหรือไม่ ที่ตามขั้นตอนกำหนดไว้ให้ไม่เกิน 45 วัน แต่จากประสบการณ์การยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชนคราวก่อนกว่า 100,000 รายชื่อ ก็ใช้เวลาตรวจสอบเพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น ในครั้งนี้ จึงน่าจะใช้เวลาไม่นาน
2. หลังจากตรวจสอบรายชื่อเสร็จ จะแจ้งให้ผู้มีรายชื่อดังกล่าวมาตรวจสอบว่าจะคัดค้านหรือไม่
3. หากผู้ร่วมลงชื่อเกิน 50,000 คน ก็จะส่งร่างรัฐธรรมนูญนี้เผยแพร่ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงสอบถามผลกระทบจากหน่วยงานของรัฐต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 77
4. หากผ่านขั้นตอนทั้งหมด จะนำเสนอประธานรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาต่อไป
ขอบคุณข้อมูล:The MATTER,resolutioncon