จากเรื่องที่ทาง กทม. ประกาศบังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งและตลอดเวลาที่ออกจากเคหสถาน และหากใครฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ล่าสุดทางด้านของ รศ. ดร. เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ หรือว่า อาจารย์เจษฎ์ ได้โพสต์ถึงเรื่องนี้ว่า
“บอกเลยว่า “การบังคับใส่หน้ากากอนามัยในรถยนต์ทุกคน แม้คนในครอบครัว” เป็นระเบียบที่บ้าบอมาก ไม่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์การแพทย์อะไร อาศัยแค่ความหวาดกลัวกันจนเกินเหตุ หาเรื่องให้คนโดนจับโดนปรับแบบไม่เข้าเรื่อง
คือถ้าเป็นรถยนต์สาธารณะ รถเมล์ รถแท็กซี่ การใส่หน้ากากอนามัยขณะอยู่บนรถ มันก็ช่วยลดการแพร่ระบาดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ เพราะยังไงก็อาจจะมีการคุยกันบนรถ (คนขับ-ผู้โดยสาร) ซึ่งเป็นพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เป็นเวลานานๆ ก็พอจะรับเชื้อไวรัสเข้าไปในตัวได้เยอะ (ถ้าไม่ใส่หน้ากาก) จนอาจเป็นโรคได้
แต่ถ้าเป็นคนรู้จักกัน คนครอบครัวเดียว ถ้าจะติดโรค มันติดกันตั้งแต่ที่บ้าน ที่ทำงานแล้วครับ ไม่ใช่จะมาติดแค่ตอนนั่งบนรถด้วยกัน นโยบายแบบเข้มๆ เท่ๆ แต่ไม่ได้เรื่อง … เหมือนสมัยห้ามครอบครัวเดียวกัน กินข้าวในร้านอาหารโต๊ะเดียวกัน (หรือต้องมีฉากกั้น) ซึ่งโรคโควิดมันติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจนะ จะติดเชื้อ ก็ติดตั้งแต่ที่บ้านแล้ว ไม่ใช่ที่ร้านอาหาร
ผ่านมาปีกว่าแล้ว ความรู้เรื่องเชื้อโรคไวรัสโควิดของชาวโลกเค้าพัฒนาไปไกลมาก แต่บ้านเราเหมือนถอยหลังลงทุกทีๆ …. ไปกินน้ำมะนาวป้องกันโควิดดีกว่า (ประชด ) ปล. แล้วใส่หน้ากากอนามัยขับรถเนี่ย ถ้าเป็นหน้ากากแบบแน่นๆ กระชับหน้า ขับรถเป็นระยะทางไกลๆ ระวังมีปัญหาเรื่องการหายใจ จะได้รับออกซิเจนน้อยลงแล้วทำให้อันตรายในการขับขี่นะครับ (ปกติ ขับรถระยะไกล ยังต้องคอยเปิดกระจกรับออกซิเจนในรถเพิ่ม
ชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมากเลยว่า อยู่บ้านก็ไม่ใส่ทั้งครอบครัวจะ เหมือนอยู่ในรถ , อาจารย์ต้องให้คนที่คิดกฎเค้ามีที่ยืนด้วยครับ เพราะถ้าคนคิดกฎนี้ขึ้นมาเค้าไม่คิดแบบนี้ เค้าก็อาจจะตกงานครับ เดือดร้อนกันไปอีก แต่ถ้าจะตำหนิคือคนที่อนุมัติให้ใช้กฎ พูดไม่ออก
กทม.บังคับใส่แมสก์ทุกครั้งที่ออกจากที่พัก
ขอขอบคุณ : Jessada Denduangboripant
เรียบเรียงโดย : khobkhao